ลักษณะเด่น
ข้าวเปลือกมีสีฟางเมล็ดข้าวขาว เรียวยาว ขาวใส เป็นเงาเลื่อมมัน ข้าวมีท้องไข่น้อย และมีกลิ่นหอม
คุณค่าทางโภชนาการ
- มีอมิโลสร้อยละ 13 – 18
- มีคุณค่าจากโปรตีน เส้นใยอาหาร ป้งอกันท้องผูก
- มีไนอะซีนรักษาผิวหนังและระบบประสาท
- มีธาตุเหล็กและทองแดง ช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง ป้องกันโรคโลหิตจาง
กระบวนการผลิต
- พื้นที่ปลูกต้องอยู่ในจังหวัดสุรินทร์ และผลิตตามขั้นตอนสำหรับการผลิตข้าวหอมมะลิสุรินทร์ซึ่งเป็นการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์
- การแปรรูป ผลผลิตข้าวเปลือกสีแปรสภาพเป็นข้าวกล้อง และข้าวสารโดยโรงสีข้าวและการแปรสภาพในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์
- บนบรรจุหีบห่อ ระบุชื่อ “ข้าวหอมมะลิสุรินทร์”
ความสัมพันธุ์ระหว่างสินค้ากับแหล่งภูมิศาสตร์
จังหวัดสุรินทร์ ในอดีตประชากรประกอบด้วยชนชาติต่างๆ เช่น ชาวไทย-กุย ไทย-ลาว และ ไทย-เขมร ซึ่งปลูกข้าวมาแต่โบราณ มีวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับข้าวมากมาย รวมถึงการเลี้ยงช้างเพื่อช่วยงานเกษตรกรรมและปัจจุบันเป็นแหล่งที่มีชื่อเสียงด้านการผลิตเมล็ดพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และ กข15 ที่บริสุทธิ์ตรงตามพันธุ์และมีปริมาณมากที่สุดในประเทศไทย รวมทั้งได้มีการส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิอินทรีย์ เกษตรกรมีการปลูกข้าวหอมมะลิเป็นพืชหลักจนมีชื่อเสียง ซึ่งชาวสุรินทร์กล่าวว่า “ข้าวหอมมะลิสุรินทร์ หอม ยาว ขาว นุ่ม”