ข้าวหอมสุพรรณ

Last updated: 15 ก.ค. 2562  |  5464 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ข้าวหอมสุพรรณ

ชื่อพันธุ์ - ข้าวเจ้าหอมสุพรรณบุรี
ชนิด - ข้าวเจ้าหอม
คู่ผสม - SPR84177-8-2-2-2-1 / SPR85091-13-1-1-4 // KDML 105
ประวัติพันธุ์ - ได้จากการผสมพันธุ์แบบสามทางระหว่างคู่ผสม SPR 84177-8-2-2-2-1 และ SPR85091-13-1-1-4 กับพันธุ์ ขาวดอกมะลิ 105 ที่สถานีทดลอง
 
ข้าวสุพรรณบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2532 
  • พ.ศ. 2533-2536 ปลูกและคัดเลือกข้าวพันธุ์ผสมชั่วที่ 1 ถึงชั่วที่ 8 จนได้สายพันธุ์ SPR89111-17-2-2-2-2
  • พ.ศ. 2537-2540 ปลูกศึกษาพันธุ์และเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานี
  • พ.ศ. 2539 ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตระหว่างสถานี ที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี สถานีทดลองข้าวสุพรรณบุรี บางเขน และคลองหลวง รวมทั้งปลูกแปลงสาธิต ในนาเกษตรกรที่จังหวัดสุพรรณบุรี กาญจนบุรี และอ่างทอง
การรับรองพันธุ์ - คณะกรรมการวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร มีมติให้เป็น พันธุ์แนะนำเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2540 และให้ชื่อว่า ข้าวเจ้าหอมสุพรรณบุรี 
 
ลักษณะประจำพันธุ์
  • เป็นข้าวเจ้าหอม สูงประมาณ 126 เซนติเมตร
  • เป็นพันธุ์ข้าวที่ไม่ไวต่อช่วงแสง 
  • อายุเก็บเกี่ยว ประมาณ 120 วัน 
  • ทรงกอตั้ง ฟางแข็ง ใบสีเขียว ใบธงตั้งตรง รวงยาวและคอรวงยาว
  • เมล็ดข้าวเปลือกสีฟาง
  • ระยะพักตัวของเมล็ดประมาณ 3-4 สัปดาห์
  • เมล็ดข้าวกล้อง กว้าง x ยาว x หนา = 2.1x 7.7 x 1.8 มิลลิเมตร
  • ปริมาณอมิโลส 18-19%
ผลผลิต
  • ประมาณ 582 กิโลกรัมต่อไร่ ในฤดูนาปรังและ 673 กิโลกรัมต่อไร่ ในฤดูนาปี
 
ลักษณะเด่น
  • ลักษณะเมล็ดและคุณภาพหุงต้มข้าวสุกนุ่มเหนียว และหอมคล้ายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105
  • ค่อนข้างต้านทานโรคขอบใบแห้ง
  • ค่อนข้างต้านทานเพลี้ยกระโดดหลังขาว
  • ตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนดี
 
ข้อควรระวัง
  • ค่อนข้างไม่ต้านทานต่อโรคไหม้
  • ค่อนข้างไม่ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
 
พื้นที่แนะนำ
  • พื้นที่นาชลประทาน จังหวัดสุพรรณบุรี อ่างทอง กาญจนบุรี และพื้นที่ใกล้เคียง 

บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย ลุงสุก ใน ข้าวนาปี

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้